พลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมย่อยสลายได้เร็ว

                คำว่า ย่อยสลายได้ (Degradable Plastic)  ให้เข้าใจก่อนว่าพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายว่า “แตก พัง ทลาย ละลาย”  หมายถึงการที่บรรจุภัณฑ์นั้นเปลี่ยนจากสภาพเดิมที่ดีไปสู่ สภาพที่ด้อยลงกว่าเดิมนั้น คือ ไม่ได้หมายความว่าการสลายนั้นจะสลายหายไปเลยจากสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เข้าใจถึงรูปแบบ และปลายทางของการย่อยสลาย อาจารย์จึงได้อธิบายพลาสติกแต่ละชนิดตามพัฒนาการ
ประเภทของพลาสติกย่อยสลายได้ จะแบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ  คือ
การย่อยสลายได้โดยแสง (Photodegradation) การย่อยสลายโดยแสงมักเกิดจากการเติมสารเติมแต่งที่มีความว่องไวต่อแสงลงใน พลาสติก หรือสังเคราะห์โคพอลิเมอร์ให้มีหมู่ฟังก์ชั่น หรือพันธะเคมีที่ไม่แข็งแรง แตกหักง่ายภายใต้รังสี (UV)  เช่น หมู่คีโตน (Ketone group) อยู่ในโครงสร้าง เมื่อสารหรือหมู่ฟังก์ชั่นดังกล่าวสัมผัสกับรังสียูวีจะเกิดการแตกของพันธะ กลายเป็นอนุมูลอิสระ (Free radical) ซึ่งไม่เสถียร จึงเข้าทำปฏิกิริยาต่ออย่างรวดเร็ว
การย่อยสลายทางกล (Mechanical Degradation)    โดยการให้แรงกระทำแก่ชิ้นพลาสติกทำให้ชิ้นส่วนพลาสติกแตกออกเป็นชิ้น ซึ่งเป็นวิธีการใช้โดยทั่วไป ในการทำให้พลาสติกแตกเป็นชิ้นเล็กๆ
การย่อยสลายผ่านปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidative Degradation) การย่อยสลายผ่านปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของพลาสติก เป็นปฏิกิริยาการเติมออกซิเจนลงในโมเลกุลของ พอลิเมอร์ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติอย่างช้าๆ โดยมีออกซิเจน และความร้อน แสงยูวี หรือแรงทางกลเป็นปัจจัยสำคัญ เกิดเป็นสารประกอบไฮโดรเปอร์ออกไซด์ (Hydroperoxide, ROOH) ในพลาสติกที่ไม่มีการเติม สารเติมแต่งที่ทำหน้าที่เพิ่มความเสถียร (Stablilizing Additive) แสงและความร้อนจะทำให้ ROOH แตกตัวกลายเป็นอนุมูลอิสระ RO และ OH ที่ไม่เสถียร
การย่อยสลายผ่านปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส (Hydrolytic Degradation) การย่อยสลายของพอลิเมอร์ที่มีหมู่เอสเทอร์ หรือ เอไมด์ เช่น แป้ง พอลิเอสเทอร์ พอลิแอนไฮดรายด์ พอลิคาร์บอเนต และพอลิยูริเทน ผ่านปฏิกิริยาก่อให้เกิดการแตกหักของสายโซ่พอลิเมอร์  ปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสที่เกิดขึ้น โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ใช้คะตะลิสต์ (Catalytic Hydrolysis) และไม่ใช้คะตะลิสต์ (Non-Catalytic Hydrolysis)  
การย่อยสลายทางชีวภาพ (Biodegradation) การย่อยสลายของพอลิเมอร์จากการทำงานของจุลินทรีย์ โดยทั่วไปมีกระบวนการ 2 ขั้นตอน เนื่องจากขนาดของสายพอลิเมอร์ ยังมีขนาดใหญ่และไม่ละลายน้ำ ในขั้นตอนแรกของการย่อยสลาย จึงเกิดขึ้นภายนอกเซลล์ โดยการปลดปล่อยเอ็นไซม์ของจุลินทรีย์ ซึ่งเกิดได้ทั้งแบบใช้ Endo-Enzyme หรือ เอนไซม์ที่ทำให้เกิดการแตกตัวของพันธะภายในสายโซ่พอลิเมอร์อย่างไม่เป็น ระเบียบ และแบบ Exo-Enzymeหรือ เอนไซม์ที่ทำให้เกิดการแตกหักของพันธะทีละหน่วยจากหน่วยซ้ำที่เล็กที่สุดที่ อยู่ด้านปลายของสายโซ่พอลิเมอร์